ส่วนประกอบและหน้าที่ของน้ำยาหล่อเย็น


1. สารเอทธีลีนไกลคอล (Ethylene Glycol : EG)
มีจุดเยือกแข็งที่ต่ำกว่า 0 จึงสามารถป้องกันการแข็งตัวของน้ำยาได้ จะมีประโยชน์สำหรับรถที่ใช้ในเมืองหนาว มีจุดเดือดที่สูง ช่วยป้องกันในเรื่องของ overheat หรือเครื่องยนต์ที่ร้อนจัดได้ ป้องกันการกัดกร่อนและเป็นตัวทำละลายสารประกอบและสี

2. DI water
เป็นตัวทำละลายของสารประกอบและสี

3. Additives
Inhibitor หรือสารยับยั้ง ป้องกันการเกิดสนิมและการกัดกร่อนของโลหะ สารป้องกันการเกิดฟอง : ควบคุมไม่ให้เกิดฟองในขณะเติมน้ำยาหล่อเย็น และป้องกันการกัดกร่อน
สี : แยกน้ำยาหล่อเย็นจากน้ำมัน และน้ำ เพื่อป้องกันความผิดพลาดหรือดื่มกลืน

Golden Cruiser ใช้สารเติมแต่งป้องกันสนิมที่มีความทนทานต่อความร้อนและทนต่อการเกิดออกซิเดชั่นได้ดีเยี่ยม ดังนั้นจึงสามารถรักษาประสิทธิภาพการป้องกันสนิมและป้องกันการกัดกร่อนได้เป็นระยะเวลานาน

เนื่องจาก Golden Cruiser ใช้สารเอทิลีนไกลคอลคุณภาพสูง จึงมีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวที่เสถียร และป้องกันปัญหาการแช่แข็งได้

น้ำยาหม้อน้ำ ช่วยดูดซับความร้อนจากเครื่องยนต์ เกิดการหมุนเวียน และแรงปะทะจากลมภายนอกขณะขับขี่ ทำให้ช่วยลดอุณหภูมิในเครื่องยนต์ ไม่ให้ร้อนจัดจนเกินไป Golden Cruiser มีการระบายความร้อนที่ดีเยี่ยมและปกป้องเครื่องยนต์จากปัญหาความร้อนที่สูงเกินไป

จากการผสมผสารของ special additives ที่ช่วยป้องกันการเกิดความเสียหายจากการเกิดโพรงอากาศของกระบอกสูบและปั๊มน้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของปัญหาเครื่องยนต์เสียหาย Golden Cruiser มีประสิทธิภาพการยับยั้งการเกิดคาวิเทชั่น และช่วยยืดอายุการใช้งานของชิ้นส่วนในระบบหล่อเย็น

*คาวิเทชั่น คือ ปรากฎการณ์ที่ความดันของน้ำยาหม้อน้ำเปลี่ยนแปลงไปจากการไหล หรือสั่นสะเทือน จนเกิดเป็นฟองอากาศ แรงดันที่เกิดจากกระแทกของฟองอากาศเหล่านี้ สร้างความเสียหายให้กับกระบอกสูบและปั๊มน้ำ และเป็นสาเหตุหลักของปัญหาเครื่องยนต์เสียหาย

อัตราส่วนที่เหมาะสมในการใช้

มาดูอัตราส่วนที่เหมาะสมในการใช้น้ำยาเติมหม้อน้ำกันนะคะ

อัตราส่วนในการผสมที่ต่ำ จะทำให้เกิดภาวะการกัดกร่อน เนื่องจากสารยับยั้งไม่เพียงพอ (Additive/inhibitor) ซึ่งเป็นผลให้เกิด ตะกรัน ต่าง ๆ และทำให้เกิดการอุดตัน รวมถึงการเกิดการรั่วในระบบได้ จากกราฟแสดงอัตราส่วนของน้ำยาหม้อน้ำจาก 0 ถึง 60 เปอร์เซ็นต์ จะเห็นว่าประสิทธิภาพในการป้องกันการกัดกร่อน จะเป็นอัตราส่วนที่อยู่ในช่วงความเข้มข้นที่ 30 – 60 ค่ะ

เพิ่มเติม

ในส่วนของน้ำยาหม้อน้ำของฮีโน่ ที่มีความเข้มข้นอยู่ 50% จะให้การป้องกันการกัดกร่อนที่มีประสิทธิภาพที่คุ้มค่าที่สุด เพราะในการเปลี่ยนถ่ายน้ำยาหม้อน้ำ อาจมีน้ำหลงเหลือจากการล้างระบบไม่หมด ซึ่งเมื่อเราเติมน้ำยาหม้อน้ำลงไป อาจจะถูกผสมกับน้ำที่ยังคงค้างอยู่ในระบบได้ ทำให้ความเข้มข้นลดลง ดังนั้น เพื่อให้การป้องกันมีประสิทธิภาพ ที่ความเข้มข้น 50% จึงดีและคุ้มค่ากว่า แล้วถ้า 60% อาจจะดีกว่าหรือเปล่า ? ดีกว่าแน่นอน แต่ราคาก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย และอาจจะไม่จำเป็นต้องเข้มข้นถึงขนาดนั้น ผลปรากฎว่า อัตราส่วนการผสมน้ำยาหม้อน้ำ 30 – 50% ชิ้นส่วนโลหะต่าง ๆ ไม่เกิดร่องรอยการกัดกร่อน เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราส่วนของน้ำยาหม้อน้ำที่ลดลง เช่น ที่ 5% จะเห็นว่า มีร่องรอยการกัดกร่อนบนแผ่นโลหะ เกิดขึ้น ดังนั้น หากเราใช้น้ำยาหม้อน้ำที่อัตราส่วนน้อยกว่า 30% จะทำให้คุณสมบัติของน้ำยาหม้อน้ำลดลง

มีการทดสอบการกัดกร่อนโลหะ โดยการตัดแผ่นชิ้นงานมา 6 ชนิดด้วยกัน ซึ่งเป็นตัวอย่างกลุ่มโลหะ ที่เป็นชิ้นส่วนในระบบเครื่องยนต์ คือ 1, 2, 3, 4, 5, 6 มาแช่ในน้ำยาหม้อน้ำ ที่ต้มอยู่ที่อุณหภูมิ 88 องศา นาน 336 ชั่วโมง

บทความอื่นๆ